HTML5 TUTORIAL ตอนที่ 1
เนื่องจากกระแส HTML5 ตอนนี้มาแรงมากครับ กระแสแรงพอ ๆ กับ
CSS3 เลยทีเดียว แต่บางคนอาจเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่รู้ว่า HTML5 มันเอาไว้ทำอะไรกันแน่ ผมก็เลยนำบทความนี้มาฝากกันครับ
บทความนี้นำมาจาก บล๊อค
W3Avenue หากท่านใดชำนาญภาษาอังกฤษ อยากฝึกภาษา ก็สามารถตามลิงค์ไปอ่านบทความต้นฉบับได้เลยครับ
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแนะนำ HTML5 ให้ผู้ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน รวมถึงสอนการเขียนโค้ด HTML5 เบื้องต้นอีกด้วย หากท่านใดพอจะทราบเรื่อง HTML5 แล้ว ก็จะได้รู้ทิป เทคนิคต่าง ๆ จากบทความนี้ครับ
จุดเด่นของ HTML5
ความสามารถทั้งหมดของ HTML5 สามารถอ่านได้จาก
เอกสารอย่างเป็นทางการของ HTML5(ภาษาอังกฤษ) ครับ หรือถ้าชอบอะไรง่าย ๆ สามารถอ่านได้จาก
W3CSchool (ภาษาอังกฤษเช่นกัน แต่เข้าใจง่ายกว่ามาก)
ความสามารถเด่น ๆ ของมันก็คือ
- Semantic Markup: โค้ดเป็นระเบียบทำให้ Search Engine เก็บข้อมูลได้ง่าย
- Form Enhancement: เพิ่มประสิทธิภาพของฟอร์ม
- เสียง / วีดิโอ: หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องที่ว่า HTML5 Video จะมาแทน Flash Video (.flv)
- Canvas: เอาไว้วาดรูป ตกแต่งรูป ซึ่งว่ากันว่าอาจมาแทนการวาดรูปในแฟลช (Adobe Flash)
- ContentEditable: สามารถคลิกบนข้อความในเว็บเพื่อแก้ไขได้จากตรงนั้นเลย
- Drag and Drop: ลากของมาวาง
- Persistent Data Storage: การเก็บข้อมูลบนเครื่องผู้ใช้ ซึ่งสามารถเก็บได้ถึงระดับฐานข้อมูลเลยทีเดียว
บราวเซอร์ไหนรองรับ HTML5 บ้าง?
เว็บบราวเซอร์ (เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome etc.) เวอร์ชั่นใหม่ ๆ ได้เริ่มรองรับHTML5 แล้ว แต่ก็ไม่ได้รองรับความสามารถทั้งหมด ดังนั้นก่อนใช้ความสามารถไหนของ HTML5 แนะนำให้ตรวจสอบจาก
ตารางเปรียบเทียบการรองรับ HTML5 และ CSS3 จากบราวเซอร์ต่าง ๆ
สำหรับท่านที่มีความรู้ด้าน Javascript อยู่แล้ว สามารถใช้ไลบรารี่
Modernizr ในการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ซัพพอร์ท HTML5 และ CSS3 หรือไม่
และหากคุณต้องการทราบว่าคุณควรจะทำเว็บไซต์รองรับบราวเซอร์ไหนดี แนะนำให้ลองไปดูที่
Browser Market Share ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับว่าในขณะนี้บราวเซอร์ตัวไหนกำลังเป็นที่นิยมมากที่สุด
ตัวอย่างโค้ด HTML5
HTML5 Document
จะเห็นว่าโค้ดสะอาดตากว่า HTML เวอร์ชั่นเก่ามากเลยครับ
การเขียนแบบ SEMANTIC MARKUP ของ HTML5
อย่างที่บอกไปว่า Semantic Markup เป็นการเขียนให้ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่ายครับ ซึ่งจะทำให้เก็บข้อมูลได้เร็วขึ้น และติดอันดับง่ายขึ้นด้วยครับ ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน เวลาเราจะสร้างกล่องอะไรขึ้นมาสักอัน เราจะใช้แท็ก ใช่มั้ยครับ แต่ตอนนี้พอเป็น HTML5 แล้ว เค้าก็เพิ่มแท็กที่เหมือนกับ
ขึ้นมา โดยมีคุณสมบัติเหมือนกัน (ใช้แท็กพวกนี้ ก็เหมือนใช้) ต่างกันที่แท็กใหม่แต่ละตัวจะบอกความหมายให้ Search Engine รู้ไม่เหมือนกัน เช่น แท็ก ก็จะบอกว่าอะไรที่ครอบอยู่ในนี้เป็น Footer เว็บไซต์ทั้งหมด ซึ่งเว็บบราวเซอร์ใหม่ ๆ ก็จะรองรับแท็กพวกนี้อยู่แล้ว (Firefox 3+, Safari 3.1+, Chrome 2+, Opera 9.6+) ยกเว้น Internet Explorer ซึ่งวิธีที่จะประกาศแท็กพวกนี้ใน IE แบบง่าย ๆ ก็คือใช้Javascript อันนี้: document.createElement(tagName) โดยวิธีใช้คำสั่งด้านบน ก็แทน tagName ด้วยชื่อแท็กที่จะประกาศ เช่น: document.createElement(“footer”); โดยถ้าจะประกาศหลายแท็กก็ต้องใช้คำสั่งนี้หลายรอบ ถ้าขี้เกียจมานั่งประกาศแท็กทั้งหมด ก็มี สคริปต์ HTML5 Enabling Script กับ IE Print Protectorซึ่งเอาไว้ประกาศ HTML5 แบบรวดเดียวเสร็จใน Internet Explorer และสำหรับคนที่ใช้ CSS Reset (เป็นไฟล์ CSS เอาไว้รีเซ็ตให้มาตรฐานของแท็กต่าง ๆ ในแต่ละบราวเซอร์ให้เหมือนกัน) ในงานบ่อย ๆ พอมาใช้ HTML5 ก็มี CSS Reset สำหรับ HTML5 ออกมาให้ใช้เหมือนกันครับ โดยมีอีกตัวชื่อ Reset5
ตัวอย่างหน้า HTML5 ที่รองรับ IE
HTML5 Semantic Markup Demo: Cross Browser
Page Header
Page Sub Heading
Article Heading
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit.
Ut sapien enim, porttitor id feugiat non, ultrices non odio.
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit.
Ut sapien enim, porttitor id feugiat non, ultrices non odio
จะเห็นได้ว่าไม่มีการใช้แท็กเลยแม้แต่แท็กเดียว ทำให้โค้ดมีความ Semantic มากขึ้น โดยเมื่อเรนเดอร์ในบราวเซอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ดังรูปนี้ครับ สามารถแวะไปดูเดโมของจริงได้ครับ สำหรับการ Validate HTML5 นั้น สามารถใช้ HTML5 Validator ได้เลยครับ
อ้างอิง :
http://www.gu-soft.com/site/article/html5-tutorial-chapter-1.html
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น